ชื่อการค้า Aldara cream 5%
รูปแบบยา ครีม
ยานี้ใช้สำหรับ
วิธีใช้ยา
สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษาหูดบริเวณอวัยวะเพศ และทวารหนัก ให้ทายาบางๆ และนวดเบาๆ ก่อนนอน วันเว้นวัน (3 ครั้งต่อสัปดาห์) จนกระทั่งหูดค่อยๆ ยุบหายไป ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องกันเกิน 16 สัปดาห์ (หลีกเลี่ยงการทายาในช่องคลอดหรือในทวารหนัก เนื่องจากผิวหนังบริเวณดังกล่าวบางและชุ่มชื้นอาจทำให้เกิดอาการบวมและแสบ ได้) ล้างออกหลังทายาไปแล้ว 6-10 ชั่วโมง หลังทายา (หรือช่วงตื่นนอน) ด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด สำหรับการรักษาหูด หากต้องทายาบริเวณอวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนหูดจะหายเนื่องจากตัวยามีส่วนประกอบของน้ำมันซึ่งอาจทำให้ส่วนประกอบที่ เป็นยางของอุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย, ไดอะแฟรม หรือหมวกครอบปากมดลูก อ่อนตัวลง และมีโอกาสเสียหายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษาอาการผิวหนังหนาด้านจากการถูกแดดเผา (actinic keratosis) ทายาบริเวณที่เป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (แต่ละครั้งห่างกัน 3-4 วัน) เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ทาทิ้งไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง จากนั้นล้างออกด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด ปกติจะทายาก่อนนอนและตื่นมาอาบน้ำตอนเช้า ไม่ควรทายาเป็นบริเวณกว้างกว่า 2x2 นิ้ว สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษา superficial basal cell cancer ให้ทายานี้บริเวณที่เป็น สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เช่น ทาทุกคืนวันจันทร์ถึงศุกร์ก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เมื่อตื่นนอนแล้วล้างออกด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด สำหรับการรักษา actinic keratosis หรือ superficial basal cell cancer อาจเห็นตุ่มที่ไม่เคยสังเกตมาก่อนเกิดขึ้นระหว่างการใช้ยาแล้วหายไป และผิวหนังบริเวณที่ทายากับบริเวณรอบๆ สีอาจแตกต่างกัน เนื่องจากตัวยา imiquimod ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูด ดังนั้นระหว่างการรักษาหรือหลังการรักษาอาจเกิดหูดขึ้นมาใหม่ได้ หลีกเลี่ยงการใช้ยาบริเวณริมฝีปาก ดวงตา และจมูก ไม่ควรปิดผิวหนังบริเวณที่ทายาด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันนานเกินระยะเวลาที่แพทย์กำหนด เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสการเกิดผลข้างเคียง ทิ้งภาชนะบรรจุยาทันทีที่ใช้ยาเสร็จ ส่วนที่เหลือไม่ควรเก็บเพื่อนำมาใช้ต่อ
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
มีดังนี้ แผลเปิดมีหรือไม่มีหนอง การติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง ความผิดปกติของผิวหนัง 2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
มีดังนี้ ผิวหนังบวม ผิวหนังหนาและแข็งขึ้น ผิวลอก ผิวหนังเป็นสะเก็ด ปวดกล้ามเนื้อ ผิวหนังแดง (พบได้บ่อย แต่มักไม่เจ็บ และไม่เป็นอันตราย) ปวดศีรษะ อาการคล้ายจะเป็นไข้หวัด ท้องเสีย สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง คัน แสบร้อนผิวหนัง ปวดหลัง
การเก็บรักษายา
ที่มา : http://www.yaandyou.net